นโยบายป้องกันการฟอกเงินฯ

นโยบาย เรื่อง การป้องกันการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงของกลุ่มชูเกียรติ

ทางบริษัท ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ดังนั้น จึงได้จัดทำนโยบาย ระเบียบปฏิบัติ คู่มือการปฏิบัติ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำนโยบาย ดังนี้

สรุปนโยบายการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและ การแพร่ขยายอาวุธที่มีธนาคารมีความมุ่งมั่นในการป้องกันมิให้ธนาคารเป็นแหล่งฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ดังนั้น ธนาคารจึงได้กำหนดนโยบาย ระเบียบปฏิบัติ คู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานของธนาคารดำเนินไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และกฎระเบียบของหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องต่อไปนี้

1. การรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (KYC/CDD) : บริษัทกำหนดให้ลูกค้าต้องแสดงตนทุกครั้งก่อน ทำธุรกรรม โดยแสดงข้อมูลและหลักฐานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้บริษัทสามารถระบุตัวตนและพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้าได้ และมีการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า โดยเป็นการรับลูกค้าที่สร้างความสัมพันธ์ต่อหน้า (Face-to-face channel)เท่านั้น เพื่อจัดระดับความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่ การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงของลูกค้า ก่อนที่จะอนุมัติรับทำธุรกรรมครั้งแรก กรณีการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีระดับความเสี่ยงสูง โดยพิจารณาจากข้อมูลลูกค้า อาชีพ/การประกอบธุรกิจ และการใช้ผลิตภัณฑ์/บริการกับทางบริษัท จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บริหารระดับสูง ดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า และการทบทวนข้อมูลลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

2. การตรวจสอบรายชื่อลูกค้ากับ Sanction Lists: บริษัทกำหนดให้มีการตรวจสอบรายชื่อลูกค้าและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ Sanction Lists ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และ Sanction Lists ตามมาตรฐานสากล รวมถึงรายชื่อบุคคล/กลุ่มบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย ซึ่งประกาศโดยหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้อง ก่อนสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า/ทำธุรกรรม

3. บุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEPs) : บริษัทกำหนดให้บุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEPs) เป็นปัจจัยที่มีระดับความเสี่ยงสูง ดังนั้น การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองจะต้องดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าอย่างเข้มข้น การทบทวนข้อมูลลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ และการอนุมัติการสร้างความสัมพันธ์จากผู้บริหารระดับสูง

4. การบริหารความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง : บริษัทจัดให้มีการระบุและพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้ารวมถึงประเมินและจัดระดับความเสี่ยงในการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงของลูกค้า เพื่อจัดเก็บข้อมูลและหลักฐานการแสดงตนให้เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงในการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงของลูกค้า นอกจากนี้จะมีการทบทวนข้อมูลลูกค้าและมีการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ

5. การติดตามความเคลื่อนไหวในทางบัญชีของลูกค้า : บริษัทได้จัดการให้มีการติดตามและตรวจสอบลูกค้าหลังทำธุรกรรมว่าเป็นไปตามจุดประสงค์ที่ได้แจ้งไว้แก่บริษัทหรือไม่ จนกว่าจะยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจตามแนวทางที่กฎหมายกำหนด

6. การรายงานธุรกรรม : ธนาคารมีกระบวนการและระบบงานสำหรับการรายงานธุรกรรมของธนาคาร ได้แก่
 มีการรายงานธุรกรรมที่ใช้เงินสด
 มีการรายงานธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน
 มีการรายงานธุรกรรมการโอนเงินและชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
 มีการรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
 มีการรายงานธุรกรรมประเภทอื่นใดก็ตามที่จะมีกฎหมายหรือประกาศเพิ่มเติม

7. การเก็บรักษาข้อมูล : บริษัทกำหนดให้มีการจัดเก็บข้อมูล เอกสาร และหลักฐาน เป็นเวลา 10 ปีนับแต่วันที่มีการเริ่มทำธุรกรรม ซึ่งการเก็บรักษาข้อมูลจะต้องเก็บรักษาไว้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้ในการตรวจสอบและเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงตามกฎหมาย

8. การฝึกอบรมบุคลากร : บริษัทมีนโนบายจัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่พนักงาน เพื่อให้ได้รับทราบและเข้าใจแนวทางปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงอย่างถูกต้อง

9. การตรวจสอบการปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระ : บริษัทกำหนดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานตามนโยบายและระเบียบปฏิบัติในเรื่องการป้องกันการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง โดยเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในของบริษัท อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานของบริษัทสอดคล้องตามนโยบายและระเบียบดังกล่าว

10. การประเมินความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงภายในองค์กร (Self-assessment) : บริษัทมีการประเมินความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ซึ่งเป็นการประเมินความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจทั้งหมดของบริษัทโดยพิจารณาจาก ปัจจัยความเสี่ยงเกี่ยวกับลูกค้า พื้นที่ ผลิตภัณฑ์ บริการ ลักษณะการทำธุรกรรม